2554/03/29

5 นาทีที่เมืองตรัง-พืชสมุนไพร

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นยารักษาโรค โดยใช้ส่วนต่างของพืชชนิดเดียวหรือหลายชนิดพร้อมกัน พืชสมุนไพรเป็นกลุ่มพืชที่อยู่ในความสนใจ และมีผู้ศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านมากที่สุด ยารักษาโรคปัจจุบันหลายขนานที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม ได้มาจากการศึกษาวิจัยการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านของกลุ่มชนพื้นเมืองตามป่าเขาหรือในชนบท ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษที่ได้สังเกตว่าพืชใดนำมาใช้บำบัดโรคได้ มีสรรพคุณอย่างไร จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และการทดลองแบบพื้นบ้านที่ได้ทั้งข้อดีและข้อผิดพลาด

พืชสมุนไพรพื้นบ้านในตำรับยาไทยมีหลายร้อยชนิด จะนำมากล่าวถึงเป็นตัวอย่างเพียงบางชนิด แยกตามกลุ่มพืชที่ใช้บำบัดโรคต่างๆ ดังนี้

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้ไข้และขับปัสสาวะ เช่น
เปลือกพญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด (Alstoniascholaris)
เปลือกและใบทุ้งฟ้า (Alstonia macrophylla)
ใบหนาด (Blumea balsamifera)
ราก เปลือก และใบ ขลู่ (Pluchea indica)
ใบ เนื้อไม้ ผล และเมล็ดมะคำไก่ หรือประคำไก่ (Drypetes roxburghii)
ต้นและรากอ้อเล็ก (Phragmites australis)
รากและใบกรุงเขมา (Cissampelos pareira)
เถาบอระเพ็ด (Tinospora crispa)
เถาขมิ้นเครือ (Arcangelisia flava)
ราก เหง้า และใบหญ้าคา (Imperatacylindrica)
ผลน้ำเต้า (Legenaria siceraria)

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย เช่น
เนื้อไม้สีเสียดหรือสีเสียดเหนือ (Acaciacatechu)
ใบและผลมะตูม (Aegle marmelo)
เปลือกประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus)
เหง้าไพล (Zingiber purpureum)
เหง้าและรากกระชาย (Boesenbergia rotunda)
แก่นฝาง (Caesalpinia sappan)
ราก เปลือก เนื้อไม้ ใบและดอกแก้ว (Murrayapaniculata)
เปลือกโมกหลวง(Holarrhenapubescens)

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาระบายและขับพยาธิ เช่น
ผลดิบมะเกลือ (Diospyros mollis)
แก่นไม้มะหาด (Artocarpus lakoocha)
เมล็ดเถาเล็กมือนาง (Quisqualis indica)
เมล็ดสะแกนา (Combretum quadran-gulare)
เมล็ดแห้งฟักทอง (Cucurbita moschata)
เนื้อในเมล็ดมะขาม (Tamarindus indica)

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาขับลม เช่น
เหง้าแก่ขิง (Zingiber officinale)
เหง้าว่านน้ำ (Acorus calamus)
ผลกระวาน (Amomum krervanh)
เหง้าข่า (Alpinia galanga)
ผลพริกไทย (Piper nigrum)
ต้นตะไคร้ (Cymbopogon citratus)

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้โรคผิวหนัง เช่น
เปลือก ใบ และเมล็ดสารภีทะเลหรือกระทิง (Calophyllum inophyllum)
ใบและเมล็ดชุมเห็ดไทย (Cassia tora)
ใบชุมเห็ดเทศ หรือ ชุมเห็ดใหญ่ (Cassia alata)
ใบ ดอกและเมล็ดเทียนบ้าน (Impatiensbalsamina)
รากและใบทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus)
เปลือก ใบ ดอกและผลโพธิ์ทะเล (Thespesia populnea)
ใบและเมล็ดครามป่า (Tephrosia purpurea)
ยางสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum)
น้ำยางสบู่ดำ (Jatropha curcas)
เมล็ดทองกวาว (Butea monosperma)
เปลือกเถาสะบ้ามอญ (Entada rheedii)
เมล็ดกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminthicus)
เหง้าข่า (Alpiniaa galanga)
หัวหรือกลีบกระเทียม (Allium sativum)

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและไล่แมลง เช่น
รากเถาโล่ติ๊น หรือหางไหล (Derris elliptica)
ใบและเมล็ดน้อยหน่า (Annona squamosa)
รากหนอนตายหยาก (Stemona tuberosa)
เมล็ดงา (Sesamun indicum)
ผลมะคำดีควายหรือมะซัก (Sapindus rarak)
ใบเสม็ดหรือเสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi)
ต้นขอบชะนางหรือหญ้าหนอนตาย (Pouzol-zia pentandra)
เปลือก ใบและผลสะเดา (Azadirachta indica)
เปลือกกระเจาหรือกระเชา (Holopteleaintegrifolia)
ใบสดกว้าว (Haldina cordifolia)

 ที่มา http://guru.sanook.com/search

การปลูกพริกปลอดสารพิษแบบลดต้นทุนแบบฉบับคนอีสาน


พี่น้องชาวชมรมเกษตรปลอดสารพิษและผู้ที่ผ่านเข้ามาชมเว็ปไซต์ของทางชมรมฯ ทุกท่านครับ 
วันนี้กระผมจะเขียนบทความที่เกี่ยวกับพริกให้พี่น้องเกษตรกรทดลองวิธีการของชมรมฯ ดูนะครับ 
รับรองพี่น้องจะไม่ผิดหวังเลยครับ โดยทั่วไปแล้วพริกจะเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของไทย 
ที่สร้างรายได้แก่เกษตรกรแถบอีสาน เช่น อุบลราชธานี , นครพนม , สกลนคร เป็นต้น 
ไม่ว่าจะเป็นพริกพันธุ์อะไร ก็จะต้องมีการเตรียมดินก่อนปลูกกันก่อน คือ การไถเปิดหน้าดิน 
และปรับพื้นให้เรียบ ชักร่องให้ทางน้ำไหลให้ทั่วแปลงโดยเกษตรกรอาจใช้ปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัม
ผสมภูไมท์ซัลเฟต 20 กิโลกรัม(แร่ธาตุภูเขาไฟ) ไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัม
ซิลิโคเทรซ 1 กิโลกรัม ผสมให้เข้ากัน ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก 
หรือร่วยรอบโคลนต้นประมาณ 1-2 กำมือ
เพื่อให้พืชเจริญเติบโต และป้องกันเชื้อราในดิน เมื่อต้นพริกเริ่มแตกใบ 
ใช้ไคโตซาน MT ฉีดทางใบ 7-10 วันต่อครั้งโดยใช้ 5 ซี.ซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พริกจะเริ่มติดดอกและผล เมื่อบำรุงให้สมบูรณ์แล้วแต่เมื่อพบแมลงศัตรูพืช
เช่น เพลี้ย , แมลงหวี่ , จิ้งหรีด ฯลฯ ให้ใช้ทริปโตฝาจ + ไทเกอร์เฮิร์บ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ฉีดพ่น 7-10 วันต่อครั้ง จะทำให้พืชผลผลิตงามอุดมสมบูรณ์ 
สามารถติดต่อกับทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ที่ 
02-9861680 หรือคุณคณาวุฒิ วรสาร 083-5406267 (เจ้าหน้าที่ชมรม ฯ)
เขียนและรายงานโดย นายคณาวุฒิ วรสาร (นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

2554/03/28

ผักออแกนิค มีประโยชน์

              

 ผักออร์แกนิค อาจจะแพงกว่าผักทั่วไปบ้าง แต่ประโยชน์ดีๆ ที่มันมีให้ก็คุ้มค่าสมราคา ผักออร์แกนิคนั้น ถูกปลูกขึ้นมาโดยไม่ใส่ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช ปุ๋ยเคมี ไม่ใส่ฮอร์โมนหรือผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ทั้งสิ้น เรียกว่าเป็นผักที่โตขึ้นมาอย่างธรรมชาติแท้ๆ โดยปราศจากสารพิษเลยแม้แต่นิดเดียว ถ้าเทียบผักที่ปลูกด้วยวิธีอื่นๆ ผักออร์แกนิกจะมีวิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์ และสารอาหารที่มีคุณค่ามากกว่าถึง 50%
สชาติของผักผลไม้ออร์แกนิคจะ ดีกว่าผักผลไม้ทั่วไป คนที่ชอบทานเนื้นมไข่ ควรจะทานผักผลไม้ออร์แกนิกเสริมด้วย เพราะวัว หมู ไก่ ทั้งหลายเดี๋ยวนี้ถูกเลี้ยงมาด้วยสารเร่งโตและถูกฉีดฮอร์โมนสารพัดอย่าง กินเข้าไปก็มีสารเคมีทั้งนั้น นานๆ ไปจะทำให้คนกินเป็นมะเร็ง โรคหัวใจ และความดันได้ ซึ่งการทานผักผลไม้ ออร์แกนิกจะช่วยชะลอโรคเหล่านี้ให้เรา เห็นไหมว่า ผักออแกนิค มีประโยชน์มากมายแค่ไหน เห็นอย่งนี้แล้วผมก็อยาก๙กชวนเพื่อนๆให้หันมากินผักออแกนิกกันเยอะๆนะครับ เพื่อสุขภาพของพวกเราๆเอง
ผักออแกนิค หรือ การปลูกพืชไร้ดิน หรือ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หมายถึง การปลูกพืชเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน โดยการใช้วัสดุปลูกต่าง ๆ ในการปลูกเช่น น้ำ ทราย กรวด ดินเผา หรือวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ดิน ซึ่งพืชจะสามารเจริญเติบโต บนวัสดุปลูกได้จากการได้รับสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีน้ำผสมกับปุ๋ย หรือ ธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชต้องการทางรากพืช ระบบปลูกพืชไร้ดินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันนี้ก็คือ ระบบการปลูกพืชที่ใช้น้ำเป็นวัสดุปลูกโดยให้สารละลายธาตุอาหาร
(น้ำผสมกับปุ๋ย ที่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการ) ผ่านทางรากพืชโดยตรงซึ่งระบบนี้เราคุ้นเคยกันดีในชื่อว่า “ระบบไฮโดรโปนิก” นั่นเอง

ข้อดีของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือ พืชออแกนิกส์
  1. สามารถทำการเพาะปลูกพืชได้ทุกสภาวะ ไม่ว่าจะเป็นในที่ที่ดินดีหรือไม่ดี หรือสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกเราก็สามารถใช้วิธีไฮโดรโปนิกนี้ ได้
  2. ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่า ร่นระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว ทำการผลิตได้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  3. สามารถปลูกพืชเชิงธุรกิจได้หลากหลายชนิด
  4. ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชที่เกิดจากดิน จึงไม่ต้องใช้สารพิษเพื่อกำจัดแมลง เป็นระบบปลูกพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  5. ให้ผลผลิตที่สดสะอาด ปราศจากสารพิษทั้งจากดินและย่าฆ่าแมลง จึงบริโภคได้อย่างมั่นใจ
  6. ผลผลิตได้ปริมาณ คุณภาพและราคาดีกว่าปลูกบนดินมากเพราะสมารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชได้ดีกว่า
  7. อัตราการใช้แรงงาน เวลาในการปลูก และค่าใช้จ่ายต่ำกว่า
  8. ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเตรียมดินและกำจัดวัชพืชก่อนการปลูก
  9. ใช้น้ำและธาตุอาหารได้อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้น้ำลดลงถึง10 เท่าตัวของการปลูกแบบธรรมดา
  10. ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารป้องกันและจำกัดแมลงได้ 100%
  11. ประหยัดค่าขนส่ง เพราะสามารถเลือกพื้นที่ที่จะปลูกใกล้กับแหล่งรับซื้อได้ เนื่องจากใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก
  12. มีวิธีการปลูกและการดูแลรักษาง่าย ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่คนพิการก็สามารถทำได้เป็นกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว และทางเลือกในการเพิ่มอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส เช่น คนพิการอีกด้วย
การปลูกผักออแกนิค โดยวิธี ไฮโดรโปนิกส์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากในปัจจุบันและกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

http://www.kasetorganic.com

2554/03/27

ผักพื้นบ้านไทยสู้มะเร็งร้ายได้

อ.. สุรัตน์วดี จิวะจินดา
ศูนย์ปฏิบัติการและเรือนปลูกพืชทดลอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์กำแพงแสน
จ.นครปฐม

ได้นำพืชผักพื้นบ้านไทยกว่า 100 ชนิด มาวิจัยทดลอง ผลปรากฏว่ามีผักไทยร่วม 90 ชนิดที่มีคุณสมบัติต้านเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งหมายถึงสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งไม่ให้เซลล์มะเร็งร้าย ลุกลามขยายตัวเร็วจนเกินไป ช่วยให้ร่างกายคนป่วยไม่โทรมเร็ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้หายขาดได้นะคะ อย่าเข้าใจผิดค่ะ
ผักไทยที่สู้กับมะเร็งร้ายได้ อ. สุรัตน์วดี จัดแบ่งไว้ 4 ประเภท ดังนี้ค่ะ
ประเภทแรก ผักที่มีฤทธิ์ต้านการลุกลามขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้มากกว่า 70% เซลล์มะเร็งที่เคยขยายตัวได้ 100% เจอผักเหล่านี้เข้าไปเซลล์มะเร็งจะเพิ่มจำนวนได้ไม่เกิน 30 % ค่ะ ผักประเภทนี้มีให้เลือกกินได้ตั้งแต่
ผักขี้ขวง (สะเดาดิน) ผักโขมหัด มะระขี้นก ใบมะม่วง เพกา(มะลิดไม้) ดอกแก้วเมืองจีน ตังโอ๋ แขนงกะหล่ำ ปีแซ ตะไคร้ ชะมวง โหระพา ใบยี่หร่า (กระเพราช้าง) แมงลัก ถั่วลันเตา แคบ้าน ผักแว่น ยอดสะเดา(ต้ม) พริกไทย มะกรูด มะแขว่น ชะพลู ใบพลู ผักไผ่ (ผักแพว) ใบยอ ผักคาวทอง(พลูคาว) ผักขะแยงง ขึ้นช่าย ใบบัวบก ผักชี ผักชีฝรั่ง หอมแย้ กระชาย ข่า ขิงแก่

ประเภทที่ 2 หยุดเซลล์มะเร็งขยายตัวได้ 50-70% ได้แก่
หัวไชเท้า ฟัก สะระแหน่ ขี้เหล็ก (ดอก) แคบ้าน ยอดสะเดา(สด) หยวกกล้วย พริกหยวก ผักชีลาว ขิงอ่อน

ประเภทที่ 3 มีฤทธิ์น้อยลงมาหน่อยหยุดเซลล์มะเร็งได้ 30-50% ได้แก่
ผักบุ้ง บวบหอม มะดัน ขี้เหล็ก เมล็ดกระถิน มะขาม มะขามเทศ มะเดื่อ มะเขือม่วง มะเขือเทศ มะเขือยาว มะเขือพวง มะอึก กระเจี๊ยบมอญ

ประเภทที่ 4 หยุดเซลล์มะเร็งได้เล็กน้อยยับยั้งได้น้อยกว่า 30% ได้แก่
ผัก กูด เห็ดลม เห็ดนางฟ้า มะกอก เผือก ยอดผักปลัง ดอกผักปลัง ผักกาดแก้ว กะหล่ำปลี กะหลำปลีม่วง บวบงู แตงโม มะระจีน สะตอ ลูกเหนียง ถั่วพู ดอกโสน หอมแดง หอมหัวใหญ่ ต้นกระเทียม กุยช่าย หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกระเจี๊ยบ สายบัว เห็ดหอม พริก มันฝรั่ง แครอท

แนวกินผักพื้นบ้าน



ฤดู ร้อน (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม) เจ็บป่วยด้วยธาตุไฟควรรับประทานผักพื้นบ้าน รสขม เย็น เปรี้ยว และจืด เช่น ผักหนาม ขี้เหล็ก มะขาม ตำลึง
ฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) เจ็บป่วยด้วยธาตุลม ควรรับประทานผักพื้นบ้าน รสสุขุม รสเผ็ดร้อน เช่น กระเจี๊ยบแดง หอมแดง แมงลัก
ฤดูหนาว (ตุลาคม-มกราคม) เจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ ควรรับประทานผักพื้นบ้าน รสขม ร้อน และเปรี้ยว เช่น สะเดา ข่าอ่อน พริกไทย ผักแพว

5.1 แนวทางบริโภคผักพื้นบ้านตามลักษณะสีผิวกายและโลหิต
คนผิวขาว โลหิตมีรสหวาน ควรเลือกรับประทานผักพื้นบ้านรสเผ็ด ร้อน ขม
คนผิวขาวเหลือง โลหิตมีรสเปรี้ยว ควรเลือกรับประทานผักพื้นบ้านรสเค็ม
คนผิวคำแดง โลหิตรสเค็ม ควรเลือกรับประทานผักพื้นบ้านได้ทุกรสยกเว้นรสเค็ม
คนผิวดำ โลหิตมีรสเค็มจัด และเย็นจัด ควรเลือกรับประทานผักพื้นบ้านรสหวาน

5.2 แนวทางการบริโภคผักพื้นบ้านตามอายุ
ปฐมวัย (อายุแรกเกิดถึงอายุ 16 ปี) เป็นช่วงอายุทำให้เกิดโรคทางธาตุน้ำ ควรรับประทานผักพื้นบ้านรสขม และเปรี้ยว
มัชฌิมวัย ( อายุ 16 ถึง อายุ 32 ปี) เป็นช่วงอายุทำให้เกิดโรคทางธาตุไฟ ควรรับประทาน ผักพื้นบ้านรสเย็น และจืด
ปัจฉิมวัย (อายุมากกว่า 32 ปีขึ้นไป) เป็นช่วงอายุทำให้เกิดโรคทางธาตุลม ควรรับประทานผักพื้นบ้าน รสเผ็ดร้อน รสสุขุม (รสไม่ร้อนไม่เย็น) แนวทางการบริโภคผักพื้นบ้านตามกาลเวลา

2554/03/15

ใบชะพลู (อีสานเรียกว่า ผักอีเลิศ)

ผักพื้นบ้านล้านนา (ภาคเหนือ)


ชื่อพื้นเมือง :ผักปั๋ง
ชื่อผัก : ผักปลัง
ประโยชน์ :ยอดอ่อนใช้แกงใส่แหนม รักษาอาการท้องผูก เป็นยาระบาย
เป็นผักที่ให้วิตามินเอสูง
ใช้ทำอาหาร : แกงผักปั๋ง
ชื่อพื้นเมือง :ผักติ้ว
ชื่อผัก : ผักแต้ว
ประโยชน์ :ยอดอ่อนและช่อดอกอ่อนรับประทานเป็นผักได้ ป้องกันโรคตาบอดกลางคืนในเด็ก มีเบต้าแคโรทีนสูง
เป็นผักที่ให้วิตามินเอสูง
ชื่อพื้นเมือง :ผักจอยนาง
ชื่อผัก : ย่านาง
ประโยชน์ :ยอดอ่อนใส่แกงหน่อไม้ หรือคั้นน้ำจากใบใส่แกงหน่อไม้ ช่วยลด รสขมขื่น ราก แก้ไข้ทุกชนิด
เป็นผักที่ให้วิตามินเอ,ซีและแคลเซียม
ชื่อพื้นเมือง :ผักคาวตอง
ชื่อผัก : พลูคาว
ประโยชน์ :ใบสดรับประทานเป็นผักจิ้ม ดับคาว ขับลมในกระเพาะ ภายนอกใช้ทาแก้กลากเกลื้อน
ชื่อพื้นเมือง :ผักกาดจ้อน
ชื่อผัก : ผักกาดกวางตุ้ง
ประโยชน์ :กินเป็นผักสด หรือใช้แกง ต้นอ่อนนิยมทำส้าผัก
ใช้ทำอาหาร : ผักกาดจอ

ผักพื้นบ้าน อีสาน

อาหารพื้นเมืองอีสานมักจะต้องมีส่วนปรุงรส หรือชูรสด้วยผักพื้นบ้านอีสาน ซึ่งมีเอกลักษณ์ทางด้านถิ่นกำเนิด กลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ หายากเพราะมีผลผลิตออกมาตามฤดูกาล นอกจากนั้นยังเป็นพืชผักที่ให้คุณค่าทางด้านสุขภาพอนามัย ปลอดสารพิษ ทำให้เป็นที่นิยมกันทั่วไป ไม่ว่าจะทำอาหารประเภทลาบ ก้อย ต้ม แกง อ่อม ล้วนต้องใช้ผักพื้นเมืองเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น
ในอาหารที่แนะนำให้รู้จักได้กล่าวถึงผักหลายชนิด ท่านอาจจะสงสัยว่า คือผักอะไรกันแน่ มีสรรพคุณอย่างไร เรามารู้จักกันหน่อยดีกว่า
  1. ผักหอมเป หรือ ผักชีฝรั่ง (Stink Weed) มีคุณค่าทางอาหารมาก นำไปกินใบสดหรือใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร ประเภทต้ม ลาบ ก้อย ป่น เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ส่วนคุณค่าทางยา จะได้วิตามินหลายชนิด เช่น วิตามิน ซี, บี 1, บี 2, ไนอาซีน และเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นของการสร้างวิตามินเอ
ผักหอมเป หรือผักชีฝรั่ง

  1. ตะไคร้ (Lemon grass) มีคุณค่ากับอาหารไทยมานานแล้ว ใส่ในต้มยำ แกงต่างๆ หรือจะหั่นฝอยใส่ยำ ใส่หม่ำ เพิ่มกลิ่นหอม เพิ่มรสชาติและดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ คุณค่าทางยา จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้บรรเทาอาการปวดท้อง ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้หัวนำมาคั่วไฟกินแก้ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่วในระยะแรกๆ แก้ปัสสาวะหยด และยังใช้ใบมาย่างไฟให้เหลือง แก้อาการปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ บรรเทาอาการร้อนใน ริมฝีปากแห้ง
    ตะไคร้หอม บางท้องถิ่นเรียก ตะไคร้แดง เพราะลำต้นสีแดง สรรพคุณแก้ริดสีดวง เป็นแผลในปาก ริมฝีปากแตก ร้อนในกระหายน้ำ สตรีมีครรภ์กินมากไม่ได้ กินแก้ขับเลือดเสีย ขับลมในลำไส้ ใช้ทาตามแขน ขา มือ เท้าป้องกันยุงและแมลงรบกวนได้ดี
  2. สะระแหน่ (Kitchen mint) เป็นผักที่มีกลิ่นดี หอมเย็น เป็นผักกินสดๆ วิตามินจึงไม่ลดลงไปเพราะการใช้ความร้อน ใช้โรยหน้าต้มยำ ลาบ ก้อย คุณค่าทางอาหารและทางยาให้ความสดชื่น ความคิดแจ่มใส ตากแห้งผสมกับใบชาชงเป็นชาหอมได้ มีเบต้า-แคโรทีน และวิตามินซีสูง
  3. ผักขะแยง (Balloon vine) ผักที่มีกลิ่นรสหอมฉุน ใช้ปรุงรสอาหารโดยเฉพาะแก่งอ่อมกบ แกงหน่อไม้ คุณค่าทางยา คั้นน้ำจากต้นแก้ไข้ ทั้งต้นเป็นยาขับน้ำนม ขับลมและเป็นยาระบาย มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด
ผักขะแยง หรือผักกะแยง

  1. ชะอม (Cha-om) ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร กินยอดอ่อนทั้งสดและลวก ยอดอ่อนแกงกับหน่อไม้ หรือทอดใส่ไข่จิ้มน้ำพริก คุณค่าทางยา แก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเสียวในลำไส้ มีเส้นใยอาหาร ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด และมีเบต้า-แคโรทีนสูง รากใช้ฝนกับน้ำหรือเหล้าขาวแก้ขับลมในกระเพาะอาหาร ท้องอืดเฟ้อ
  2. ข่า (Greater galangal) เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า ใช้ประกอบอาหารช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เป็นเครื่องแกง อาหารไทยหลายชนิดใช้ข่าเป็นเครื่องปรุงหลัก เช่น ต้มข่าไก่ แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน คุณค่าทางยาในเหง้าจะมีน้ำมันหอมระเหยต่างๆ ทำให้ช่วยขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ใบใช้ตำพอกหรือทาโรคผิวหนัง หิด กลาก เกลื้อน ถ้าหญิงคลอดลูกใหม่ๆ เลือดขัดให้ใช้หัวข่าสดมาบดผสมน้ำมะขามเปียกและเกลือแกง บีบคั้นเอาแต่น้ำ ประมาณชามแกงย่อมๆ ให้ดื่มจนหมด จะช่วยขับเลือดเสียและทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
ข่า

  1. ขิง (Ginger) เป็นพืชล้มลุก มีแง่งใต้ดินแตกแขนงคล้ายนิ้วมือ เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและสารจากธรรมชาติ นิยมนำมาทำอาหารทั้งคาวหวาน เช่น ไก่ผัดขิง ใบใช้กินกับซุปหน่อไม้ ส้มตำ หัวผสมกับกระชายทำน้ำยาขนมจีน หรือนำมาต้มทำน้ำขิงใส่น้ำตาล คุณค่าทางยา ช่วยระบบทางเดินหายใจ เป็นหวัดคัดจมูก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลม ช่วยบรรเทาอาการไอ ลดโคเลสเตอรอล
ขิงและน้ำขิง

เหง้าขิงแห้ง เป็นยาจำพวกอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย หัวใจ ไฟธาตุ ขับลมในลำไส้ให้ตด (ผายลม) ออกมา แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมพรรดึก แก้อาการปวดท้อง คลื่นเหียนอาเจียน แก้บิดมีตัว บิดมูกเลือก แก้อุจจาระเป็นฟองเหลือง ขับละลายก้อนนิ่ว ตำรับยาแผนโบราณใช้แก้ลมพานไส้ แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ โรคปากเปื่อยฯ
  1. กระชายหรือโสมไทย (Chinese Deys) นิยมใช้แต่งรสชาติอาหาร เช่น แกงป่า ผัดเผ็ด แกงส้มเนื้อ น้ำยาขนมจีน ถือว่าเป็นเครื่องเทศอย่างหนึ่ง กระชายมี 3 ประเภท เช่น กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง ที่ใช้ประกอบอาหารคือ กระชายเหลือง คุณค่าทางยาเชื่อว่ามีสรรพคุณคล้ายโสมบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เช่น กระชายดำ ซึ่งเป็นที่กล่าวขานกันมากในปัจจุบัน อาจจะเรียกว่าโสมไทย จะมีน้ำมันหอมระเหยสรรพคุณดับกลิ่นคาว ทำให้กระเพาะลำไส้เคลื่อนไหวดี สรรพคุณทางยาของกระชาย ถ้าใช้หัวปรุงแก้อาการปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแตกแห้ง ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดท้อง จุกเสียด แก้บิดมูกเลือด บำรุงกำลัง บำรุงน้ำดีฯ
  2. บัวบก (Indian penny wort) กินได้ทั้งต้นเป็นผักสดหรือลวกกินกับอาหารเช่น ป่น ลาบ แจ่ว นำไปประกอบอาหารอื่นเช่น แกงหวาย ยำกับปลาแห้ง คุณค่าทางยา นำมาต้มกินแก้ฟกช้ำ ลดอาการอักเสบได้ ทำเป็นครีมลบรอยแผลเป็น รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยผ่อนคลายทำให้ความจำและสมองทำงานได้ดี
  3. ผักหวานป่า (pagwan pa) เป็นผักพื้นบ้านมีบางฤดู ส่วนที่นำมาปรุงเป็นอาหารได้คือ ยอดอ่อนและใบอ่อน เช่น แกงเลียง แกงจืดใส่หมูบะช่อ แกงใส่ปลาย่าง ผัดใส่หมู หรือผัดไฟแดง คุณค่าทางยาเพราะมีใบสีเขียวจึงมีวิตามิน เกลือแร่และเบต้า-แคโรทีนมาก
  4. ผักกระเฉด (Water mimosa) คุณค่าทางอาหารกินสดกับขนมจีน หรือน้ำพริกกะปิ ยำกระเฉด หรือผัดไฟแดง ใส่แกงส้ม คุณค่าทางยา ถ้ากินสดจะได้ วิตามินบี, วิตามินซี เบต้า-แคโรทีน ไนอาซีนและเกลือแร่ต่างๆ
  5. ผักเสี้ยน (ดอง) (pagsian, Capparidaceae) นิยมนำมาดองเค็มหรือดองเปรี้ยวกินกับป่น หรือแจ่ว คุณค่าทางยาแม้จะผ่านการดองแล้วแต่ปริมาณเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นของวิตามินเอยังสูงอยู่ และมีวิตามินแร่ธาตุอื่นๆ อีก
  6. มะขาม (Tamarind) สรรพคุณ เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก แก้ไอ และแก้หวัดคัดจมูก มีวิตามินซี ช่วยให้ ฟันและเหงือกแข็งแรง และทำให้ผิวพรรณดี [ อ่านเพิ่มเติม ]
  7. กะถิน ยอดและฝักใช้กินเป็นผักสด แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงหัวใจ เมล็ดแก่ กินแก้ขับลม ขับระดูในสตรี บำรุงไตและตับ แก้อาการนอนไม่หลับ เป็นยาอายุวัฒนะ แต่มียูริกสูงต้องห้ามสำหรับคนเป็นโรคเก๊าท์
  8. กะเพรา ใช้ใบดอกประกอบอาหาร เพิ่มรสชาด สรรพคุณทางยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น แก้ลมตาล ลมทรางในเด็ก ใช้ปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เป็นยาเขียว ยาลมธาตุ ยาแก้กษัย ส่วนรากใช้ฝนใส่ฝาหม้อดินผสมกับสุราขาวหยอดใส่ปากเด็กโต 3-5 ขวบขึ้นไป ช่วยไล่ลมในกระเพาะ ลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  9. กระเทียม ใช้ปรุงอาหารต่างๆ ช่วยให้มีกลิ่นเผ็ดร้อน ชวนรับประทาน ใช้หัวสดตำทาแก้โรคผิวหนัง เช่น เกลื้อน กลาก ตลอดจนเม็ดผดผื่นคันตามตัวทั่วไป ปรุงผสมสมุนไพรอื่นๆ ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงลำไส้ ขับลมในกระเพาะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้นอนหลับง่าย แก้โรคหืด
  10. ขี้เหล็ก ใบอ่อนนำมาต้มจนเปื่อย หมดรสขม นำมาแกงใส่อุ้งตีนวัว หรือหนังวัว/ควายตากแห้ง ปิ้งไฟทุบให้นุ่ม ใส่น้ำใบยานาง บางคนก็ชอบกะทิใส่ลงไปแซบอีหลีเด้อสิบอกให่ สรรพคุณทางยา แก่นต้นขี้เหล็กนั้นแก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย บำรุงธาตุไฟแก้หนองในและกามโรคในบุรุษ ราก แก้ไข้หัวลม อากาศเปลี่ยนฤดู แก้ปวดเมื่อย เหน็บชา แก้กษัย บำรุงไต ดอก แก้โรคประสาทอาการนอนไม่หลับ แก้หอบหืด บดผสมน้ำฟอกผมบนศรีษะขจัดรังแค เปลือก แก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงลำไส้ แก้โรคเบาหวาน สมานแผลให้หายเร็ว ใบแก่ แก้ถอนพิษ ถ่ายพิษ กามโรค ตำพอกที่แข้งขา มือเท้าที่มีอาการบวมเนื่องจากเหน็บชา ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย กิ่ง-ใบ ทำเป็นยาระบายถ่ายพิษ ขับเสลดในคอ แก้ไข้จับสั่น (มาลาเรีย) ฯ
  11. แคขาว แคแดง ยอดใบ ดอกและฝักเรานำมากินเป็นผัก นึ่งใส่ปลา ลวกจิ้มแจ่ว แซบแท้ๆ และยังเป็นยาแก้ท้องเดิน ท้องร่วง สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้บิด มูกเลือด แก้ไข้หัวลม เปลือกต้นแคนั้นมีสรรพคุณทางยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะในลำคอ ใช้ฝนเอามาทาแผลเปื่อย แผลสดได้ผลดี ส่วนใบนำมาตำพอกแผลสดเพื่อสมานเนื้อให้หายเร็ว
  12. ตำลึง ใบตำนิน (ก็ว่า) ใบเป็นผักใช้ทำอาหารได้หลายอย่างทั้ง ผัด ลวก นึ่ง หรือจะใส่ในแกงก็อร่อย มีสรรพคุณทางยาดังนี้ ใบ ใช้ตำหรือบดผสมแป้งดินสอพอง พอกแผล ฝี ช่วยบีบรีดหนองให้แตกออกมา เพื่อให้แผลฝีหายเร็ว ใช้ใบปรุงกับสมุนไพรอื่นๆ เป็นยาเขียว ยาเย็น แก้ขับอาการร้อนในและพิษไข้ให้ตัวเย็นลง หรือนำใบไปตำทาตามผิวหนังแก้ผด ผื่นคัน เถา ใช้ตัดมาคลึงให้นิ่ม บีบเอาน้ำภายในออกมา หยอดตา แก้ตาฝ้า ฟาง ตาแดง ตาแฉะ มีขี้ตามาก ราก แก้ตาเป็นฝ้า ติดเชื้อ ดับพิษปวดแสบปวดร้อนในตา บำรุงธาตุเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ บำรุงดี ทำให้ระบบขับถ่ายสะดวก รักษาโรคลำไส้และกระเพาะอาหาร ผลสุก มีสีแดงเป็นยาบำรุงร่างกายฯ
  13. มะเขือเทศ อีสานบ้านเฮามักเอาใส่ตำบักหุ่ง (แซบอีหลี) ให้วิตามินซี แก้เลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) หากกินสม่ำเสมอจะทำให้ไม่เป็นมะเร็งในลำไส้ แก้โรคนอนไม่ค่อยหลับ หรือมักนอนผวา สะดุ้ง หรืออาการตกใจง่ายๆ
  14. มะละกอ หรือหมากหุ่ง หรือบักหุ่ง ผลไม้สารพัดประโยชน์ในด้านอาหารของชาวอีสาน จะแห้งแล้ง อุดมสมบูรณ์ ถ้ามีหมากหุ่งละก็รอดตายเลย ใช้ทำส้มตำรสแซบ แกง หรือผัด ผลสุกกินเป็นของหวาน ตัดเป็นชิ้นๆ ลงในต้มเนื้อจะทำให้เนื้อเปื่อยง่าย เร็ว สรรพคุณทางยา ราก รสฉุนเอียนใช้แก้โรคหนองใน ขับเลือด หนองในกระเพาะปัสสาวะ บำรุงไต ก้านใบ มีสรรพคุณเช่นเดียวกัน กับทั้งฆ่าพยาธิในลำไส้และในกระเพาะอาหาร แก้โรคมุตกิต ระดูขาว เหง้า ตรงที่ฝังดินมีรากงอบโดยรอบ ใช้ทำยาขับและละลายเม็ดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ผลดี
  15. มะระ ผักไห่ หรือหม่านอย ตามท้องถิ่น คนจีนเรียก โกควยเกี๊ยะ สรรพคุณทางยา ยอดและใบอ่อน แก้โรคปวดตามข้อ ตามกระดูก ที่เรียกว่า รูมาติซั่มและเก๊า แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ เมล็ด ฆ่าพยาธิในลำไส้ เป็นยาระบายอ่อนๆ ระลายพิษต่างๆ ให้ออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ขับฤดูเสียในสตรี บำรุงดี ตับและม้าม ยอดมะระ ใช้แก้อาการเจ็บคอ ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ในปัจจุบันวงการแพทย์ไทยได้วิจัยค้นพบว่า สามารถใช้แก้โรคเอดส์เบื้องต้นได้ ทำให้เม็ดผื่นคัน แผลในร่างกายไม่ลุกลาม ทำให้กินได้นอนหลับ มีกำลังดีขึ้น
  16. มะรุม ผักอีฮุม นำฝักอ่อนมาแกงใส่ปลาอร่อยนักแล สรรพคุณทางยา เปลือก ถากมาต้มน้ำกินเป็นยาช่วยขับลมในกระเพาะและลำไส้ บำรุงธาตุ ราก รสเผ็ด หวานขม ใช้แก้อาการบวมน้ำ บำรุงธาตุไฟ เจริญอาหาร ยอดและฝักอ่อน ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ไข้หัวลม (เปลี่ยนฤดู) ช่วยย่อยอาหาร
มะรุม

  1. สะเดา (Neem Tree) เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ คือ ก้านใบ ผล เปลือก เมล็ดและราก มียอดใบอ่อนให้กินตลอดปีใช้เป็นอาหาร เป็นต้นไม้ที่แมลงไม่ชอบ จึงเป็นยาปราบศัตรูพืช ยอดของสะเดามีเบตา-แคโรทีนมากช่วยลดน้ำตาลในเลือด และใช้ประโยชน์ทางยาได้มากมาย
  2. ขมิ้นชัน (Turmeric, Curcuma) เป็นพืชล้มลุกที่มีอยู่เหง้าอยู่ใต้ดิน มีประโยชน์ในการช่วยดับกลิ่นคาว มีสารสีเหลืองชื่อ เคอร์คูมิน (Curcuma) ฤทธิ์ทางยาแก้ปวดท้อง มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี รักษาอาการนิ่วในถุงน้ำดี รวมทั้งโรคกระเพาะ
  3. พริก (Chilli) เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ผลใช้เป็นยา ปรุงอาหาร ช่วยเจริญอาหารรักษาอาการอาเจียน โรคหิด ปอดบวม โดยใช้ผลพริกทำเป็นขี้ผึ้งทา
  4. คึ่นไช่ (Celery) เป็นพรรณไม้ล้มลุกกลิ่นหอมทั้งต้น ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้แก่ ต้น เมล็ด ราก สรรพคุณทางยา ต้นลดความดัน รักษานิ่ว ปัสสาวะเป็นเลือด เมล็ดขับลมและระงับปวด รากใช้รักษาอาการปวดตามข้อและขับปัสสาวะ
  5. ใบยานาง คนที่รู้จัก "ใบย่านาง, ใบยานาง" ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นคนภาคอีสาน หรือชอบกินอาหารอีสาน เพราะใบย่านางมักถูกใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของแกงหน่อไม้ และซุปหน่อไม้ คงมีหลายคนที่ชอบกินแต่คงไม่ทราบว่าน้ำสีออกดำๆ เขียวๆ ที่อยู่ในซุปหน่อไม้ หรือแกงหน่อไม้นั้นได้มาจากน้ำของ "ใบย่านาง" นั่นเอง
ใบยานาง

แม้ว่าสีของน้ำใบย่านางนั้นอาจจะดูไม่ค่อยน่ากินสักเท่าไร แต่น้ำจากใบย่านางนั้นจะช่วยทำให้หน่อไม้ดองมีกลิ่นหอมและมีรสชาติกลมกล่อม เพราะช่วยกำจัดกลิ่นเปรี้ยวและรสขมออกไป ทำให้อาหารจานนั้นแซบนัวหลายๆ หรือหากจะนำยอดอ่อนใส่ในแกงต่างๆ ก็เพิ่มความอร่อยได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากความเเซบแล้ว ใบย่านางยังมีสรรพคุณในการช่วยถอนพิษ แก้ไข้และลดความร้อนในร่างกายได้ อีกทั้งยังเป็นพืชที่ให้แคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง และยังให้สารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน หากกินทั้งใบก็จะมีเส้นใยมาก ส่วนรากของใบย่านางช่วยถอนพิษ แก้ไข้ แก้เมารถ เมาเรือ แก้โรคหัวใจและแก้ลมได้ด้วย ขอแถมให้อีกนิด หากนำน้ำใบย่านางมาสระผม จะช่วยทำให้ผมดกดำ ชลอผมหงอกได้อีกต่างหาก
  1. ดาวเรือง (Marigold flower) เป็นไม้ดอกไม้ประดับ นอกจากมีความสวยงาม ยังมีสารแคโรทีนอยด์ ที่เป็นประโยชน์ช่วยบำรุงสายตา รักษาสภาพผิวพรรณ ฯลฯ
  2. สาบเสือ (Bitter, bush, Siam weed) เป็นไม้ล้มลุก ส่วนที่ใช้ประโยชน์ทั้งต้นและใบ มีกลิ่นหอมใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้
  3. กากเมล็ดชา ชาเป็นพรรณไม้ขนาดย่อมถึงกลาง ส่วนใช้ประโยชน์ได้แก่ ใบ ดอก ผล ใบอ่อน กากชา กากเมล็ด ใช้เป็นยา มีสารซาโปนิน คุณสมบัติล้างสิ่งต่างๆ ใช้สระผม ชำระสิ่งสกปรก เส้นผมชุ่มชื่นเป็นมัน
  4. ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush) เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้แก่ ต้น ใบ ดอก ฝัก เมล็ด และราก ใช้เป็นยาขับพยาธิ รักษาผิวหนัง กลากเกลื้อน รักษาหูด ขับปัสสาวะ
  5. ดอกดึง (Climbing Lily) เป็นพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ลำต้นเกิดจากหัวหรือเหง้า ส่วนที่ใช้ประโยชน์คือเหง้า มีฤทธิ์ในการบำบัดโรคปวดข้อ โรคเก๊า ฯลฯ
  6. หนอนตายยาก เป็นพรรณไม้ล้มลุก รากมีสารกำจัดแมลง เช่น หนอนผีเสื้อ หนอนกระทู้ แมลงวันทอง นำมาสกัดหรือบดแล้วพ่น

พืชผักสวนครัว

การปลูกพืชผักสวนครัว มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของชีวิตประจำวัน เพราะใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ดี ถ้าปลูกมากมีเหลือก็จำหน่ายได้ และสามารถยึดเป็นอาชีพได้ ขอให้มีความยึดมั่นในธรรมชาติ มีความขยัน และอดทน การปลูกพืชผักสวนครัวมีหลักปฏิบัติ 5 ประการ
1.             การเลือกเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์มีความจำเป็นในการเริ่มต้นในการเพาะปลูก จึงควรศึกษาเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี แข็งแรง ไม่เป็นโรคง่าย คัดสรรแล้วเก็บรักษาไว้อย่างดีก่อนปลูก
2.             การเตรียมดิน
คุณภาพของดิน จะเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของพืช การให้อาหารแก่ดินด้วยปุ๋ยชีวภาพจะทำให้ดินมีชีวิตและช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุ ในดิน ให้ดินอุดมพร้อมแก่การเพาะปลูก
2.1
แปลงใหม่ (ดินไม่สมบูรณ์)

-
ถ้าดินแข็งมาก อาจใช้เครื่องจักรช่วยในการไถก่อน ยกแปลง

-
ดินขาดอินทรีย์วัตถุ ควรแหวะท้องหมู ใส่ปุ๋ยแห้ง และรดด้วยปุ๋ยน้ำ

-
ยกร่องให้สวยงาม โรยปุ๋ยแห้ง ตร.ม. ละ 1 กำมือ รดด้วยปุ๋ยน้ำ คลุมด้วยฟางไว้ 5-7 วัน ปลูกพืชด้วยเมล็ดหรือกล้า



2.2
แปลงเก่า (ดินสมบูรณ์)

หลังจากตัดผักหรือถอนผักออกแล้ว ถอนหญ้า ปรับปรุงแปลง (ไม่ต้องขุด) แล้วเริ่มต้นดังน

-
ใส่ปุ๋ยแห้ง ตร.ม.ละ 1-2 กำมือ ใช้จอบสับเบาๆ ให้คลุกกับดิน

-
คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง

-
รดด้วยปุ๋ยน้ำ 1-2 วัน

-
หมักไว้ 7 วัน ปลูกด้วยเมล็ดหรือกล้า
3.              
4.             การปลูก
3.1
การปลูกด้วยเมล็ด

-
นำเมล็ดไปแช่ในน้ำจุลินทรีย์ ประมาณ 30 นาที หากผิวเมล็ดแข็งให้แช่นานหน่อย

-
แหวกหญ้าหรือฟางที่คลุมออก

-
ใช้ไม้กระดานหน้า 1/2 x 2 นิ้ว กดเป็นรอยลึก 1-2 เซนติเมตร

-
หยอดเมล็ดตามรอยที่กดไว้

-
คลุมฟางเหมือนเดิม

-
รดน้ำเช้าเย็น

-
2 วันแรกให้รดด้วยปุ๋ยน้ำช่วงเย็นวันละ 1 ครั้ง หลัง จากนั้น ให้รดปุ๋ยน้ำ 3 วัน / ครั้ง นอกนั้นรดน้ำปกติ



3.2
ปลูกด้วยกล้า

การเพาะกล้ามี 2 ชนิด คือ


เพาะด้วยกะบะ

-
อาจ เป็นภาชนะสำเร็จรูป หรือใช้ไม้ 1/2 x 2 นิ้ว หรือวัสดุอื่น ทำเป็นกระบะขนาด 50 x 50 หรือ 50 x 70 หรือ 50 x 100 เซนติเมตร ให้สามารถยกย้ายและวางบนพื้นได้สะดวก

-
ผสมปุ๋ยแห้งกับดินร่วน แกลบเผา อัตราส่วน 1 : 5 : 3 ลงในกระบะ

-
หยอดเมล็ดหรือหว่านเมล็ดให้ทั่วอย่าให้แน่นเกินไป

-
คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางบางๆ

-
รดด้วยปุ๋ยน้ำให้ชุ่ม

-
จากนั้นรดน้ำ เช้า-เย็น

-
รดปุ๋ยน้ำช่วงเย็นติดต่อกัน 3 วัน หลังจากนั้นรดปุ๋ยน้ำ 3 วัน/ครั้ง





การเพาะในแปลง

-
นำปุ๋ยแห้งและแกลบเผาผสมในดิน ในแปลง คลุกให้ทั่ว ทำหน้าดินให้ละเอียด

-
หยอดเมล็ด หรือ โรยเมล็ด

-
คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้งบางๆ

-
รดปุ๋ยน้ำให้ชุ่มทั่วแปลง

-
รดน้ำ เช้า - เย็น

-
3 วันแรกรดปุ๋ยน้ำช่วงเย็นทุกวัน หลังจากนั้นรด 3 วัน/ครั้ง วันปกติรดน้ำธรรมดา
5.              
6.             การดูแลรักษา
-
ผัก เกือบทุกชนิดเพาะกล้าก่อนปลูกจะดี เพราะถ้าให้ร่นระยะเวลาในการลงปลูก สามารถปลูกได้หลายรุ่น และดูแลรักษาง่ายยกเว้นพืชผักที่ย้ายกล้าไม่ได้ เช่น แครอท หัวผักกาด การปลูกด้วยกล้า ทำให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ด้วย ดีกว่าปลูกด้วยเมล็ดแล้วต้องถอนทิ้งเมื่อผักแน่นเกินไป
-
ปกติจะ ใส่ปุ๋ยแห้งครั้งเดียว แต่ถ้าผักมีอายุยาวเกิน 50 วัน ให้สังเกตว่าผักไม่สวย ไม่สมบูรณ์ ก็ใส่ปุ๋ยแห้งได้ระหว่างแถว ไม่ให้ถูกต้นพืชผัก
-
การ เตรียมแปลงดี ผักจะเจริญเติบโตเสมอกันทั้งแปลงผักต้นใดมีโรคให้งดน้ำ และรดด้วย EM สด ขยาย ผสมน้ำ 50 เท่า ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จึงให้น้ำต่อ
-
ผักมีหัวให้ขุดแปลงลึกๆ แหวะท้องหมูบ่อยๆ และใส่ปุ๋ยแห้งผสมให้ดี
-
การรดน้ำ ควรใช้บัวรดน้ำรูเล็กๆ ให้เป็นฝอยได้มากเท่าไรยิ่งดี
-
ไม่ควรรดน้ำด้วยสายยางที่น้ำพุ่งแรงๆ จะทำให้ผักนอนราบ โดยเฉพาะผักกาดขาวจะห่อใบยาวขึ้นหากถูกน้ำซัดแรงๆ ทุกวัน
-
พ่นด้วยสารไล่ศัตรูพืช หรือ สารป้องกันเชื้อรา ทุกๆ 3 วัน


ข้อสังเกตุ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยธรรมชาติ ควรปลูกผักกาดหอม ผักชีใบแหลม ปนกับผักอื่นๆ ปลูกต้นดาวเรือง ตะไคร้หอม ผกากรองไว้เป็นรั้ว และใช้ใบตะไคร้หอมมาคลุมแปลงผักจะป้องกันแมลงรบกวนได้ด้วย
7.              
8.             การเก็บผลผลิต - การจำหน่าย
การเก็บผลผลิตควรดำเนินไปตามอายุของผักแต่ละประเภท และหาก ปลูกโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพดังกล่าวข้างต้น ควรเก็บก่อนกำหนด เล็กน้อยเพราะ
-
ผักธรรมชาติเจริญเติบโตเร็ว
-
ร่นระยะเวลาปลูก ลดแรงงาน และรายจ่าย
-
หากเก็บช้าหรือเกินอายุทำให้ผักมีภูมิต้านทานต่ำเกิดโรคได้
-
การเก็บควรใช้วิธีตัด ยกเว้นผักหัวใช้ถอน
-
ผักที่เป็นผลควรเก็บอย่างปราณีต เพื่อให้โอกาสเกิดผลใหม่อีก เช่น ถั่ว แตง
-
ผักทั่วไปเก็บแล้วล้างให้สะอาด บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย
-
ผักที่เป็นฝัก เช่น ถั่ว เก็บแล้วไม่ต้องล้าง ไม่ต้องพรมน้ำ
ข้อควรจำ
  • ผักธรรมชาติทนทาน ขั้วไม่หลุดง่าย เหี่ยวยาก
  • ไม่ต้องแช่สารเคมี
  • น้ำพรมผักหรือแช่ผักควรผสม EM ด้วย
  • ไม่ควรนำผลผลิตไปขายร่วมกับแผงผักเคมี จะทำให้เสียคุณภาพ ควรเปิดแผงผักปลอดสารพิษหรือผักธรรมชาติ เพื่อสะดวกต่อการเลือกซื้อของผู้บริโภค สามารถรับรองคุณภาพและสามารถกำหนดราคาได้ดีในอนาคต
ช่วงที่เหมาะสมในการปลูกพืชผัก
กุมภาพันธ์ - เมษายน
- ผักชี หอม ผักบุ้งจีน ผักกาดหัว ถั่วฝักยาว แตงกวา มะระ ผักกาดเขียวปลี ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว
พฤษภาคม - กรกฎาคม
- ผักคะน้า กุยช่าย บวบเหลี่ยม ข้าวโพดหวาน หอมแดง
สิงหาคม - ตุลาคม(ปลายฝน)
- ผักชีลาว ผักโขม กุยช่าย ผักกาดขาว ผักกาดหอม พริก มะเขือเปราะ มะเขือยาว
ปลูกได้ทั้งปี
- ผักสวนครัวต่างๆ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ โหระพา